พิธีทำบุญตักบาตร
1. โอกาสที่เหมาะแก่การทำบุญตักบาตร ได้แก่ เทศการต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันสถาปนาหน่วย เป็นต้น
2. ประเภทของการทำบุญตักบาตร
2.1 ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารสด
2.2 ทำบุญตักบาตรด้วยอาหารแห้ง
3. จำนวนพระ ไม่จำกัดจำนวน แล้วแต่ศรัทธา
4. การเตรียมการเบื้องต้น
4.1 โต๊ะหมู่บูชา พร้อมพระพุทธรูป และดอกไม้ธูปเทียน
4.2 ที่นั่งพระสงฆ์
4.3 โต๊ะวางอาหารสำหรับตักบาตร
4.4 ภาชนะสำหรับถ่ายอาหารจากพระ
4.5 เจ้าหน้าที่บริการพระสงฆ์
4.6 อาหารถวายพระสงฆ์ก่อนออกบิณฑบาต
4.7 อาหารสำหรับตักบาต
5. ลำดับพิธี
- ได้เวลาประธานจุดเทียนธูปพระรัตนตรัย กราบ 3 ครั้ง
- พิธีอาราธนาศีล ผู้ร่วมทำบุญรับศีล
- พระสงฆ์ออกไปรับบิณฑบาต
- ประธานสงฆ์กล่าวสัมโมทนียกถา
- พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดน้ำ
- ประธานสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ผู้มาร่วมทำบุญ
- ส่งพระกลับเป็นเสร็จพิธี
6. ข้อควรคำนึง
6.1 ต้องประกาศให้ทราบทั่วกันว่า จะตักบาตรด้วยอาหารแห้งหรืออาหารสด มิฉะนั้นของจะปนกันและเสียได้
6.2 อาหารสำหรับตักบาตร
- ถ้าเป็นอาหารแห้ง นิยมใช้ข้าวสุก, กับข้าว บรรจุใส่ถุง มัดให้เรียบร้อย, ของหวานต่าง ๆ บรรจุใส่ถุง และผลไม้นิดต่าง ๆ
- ถ้าเป็นอาหารแห้ง นิยมใช้ข้าวสารใส่ถุง, ผักกาดกระป๋อง, ผลไม้กระป๋อง, น้ำปลาขวดเล็ก, น้ำตาลทรายใส่ถุง, ปลากระป๋อง, อาหารสำเร็จรูปเป็นห่อ และผลไม้ชนิดต่าง ๆ
6.3 ในการจัดพระออกรับบิณฑบาต การแบ่งออกเป็นสาย ๆ ดูให้พอเหมาะกับผู้ร่วมทำบุญ
6.4 กำชับลูกศิษย์วัดที่มากับพระให้แต่งตัวให้เรียบร้อย และนำภาชนะถ่ายอาหารมาด้วย ถ้าไม่พอต้องใช้ของหน่วย แล้วจัดส่งให้ถึงวัด
6.5 การตับบาตรด้วยอาหารแห้ง ได้ประโยชน์ในส่วนที่เก็บไว้ได้นาน แต่โอกาสที่พระจะต้องอาบัติมีมากกว่า การตักบาตรด้วยอาหารสด
หมายเหตุ ลำดับพิธีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น